ทำได้ง่าย!! วิธีต่อภาษีรถออนไลน์ รถเกิน 7 ปี ไม่ต้องไปขนส่ง

กรมการขนส่งทางบก แนะรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปี และรถจักรยานยนต์ที่มีอายุเกิน 5 ปี สามารถชำระภาษีออนไลน์ได้ทันที ไม่ต้องเดินทางไปขนส่ง

กรมการขนส่งทางบกแนะนำให้เจ้าของรถเก๋ง, รถกระบะ และรถตู้ ที่มีอายุการใช้งานไม่เกิน 7 ปี และรถจักรยานยนต์ที่มีอายุการใช้งานไม่เกิน 5 ปี สามารถชำระภาษีรถยนต์ผ่านเว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก โดยเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีจะถูกจัดส่งทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ที่ระบุไว้

รถยนต์ที่สามารถชำระภาษีผ่านทางเว็บไซต์ จะต้องมีกรมธรรม์ประกันภัยภาคบังคับ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถเช่นเดียวกับการต่อภาษีผ่านช่องทางอื่นๆ เมื่อชำระภาษีเรียบร้อยแล้ว จะได้รับใบเสร็จรับเงินและเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีให้ผู้ชำระเงินภายใน 10 วันทำการ นับจากวันชำระเงิน โดยมีค่าส่งเอกสาร 32 บาททั่วไทย ส่วนคู่มือจดทะเบียนสามารถนำไปปรับรายการได้ที่สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ

การต่อภาษีผ่านเว็บไซต์ สามารถชำระเงินผ่านช่องทางต่างๆ ได้ดังนี้ บัตรเครดิต, หักบัญชีธนาคาร, เคาน์เตอร์/ATM/อินเตอร์เน็ตแบงค์กิ่ง, เคาน์เตอร์เซอร์วิส และห้างเทสโก้โลตัส

ผู้สนใจสามารถใช้บริการต่อภาษีรถออนไลน์ได้ที่ http://eservice.dlt.go.th

ขั้นตอนวิธีชำระภาษีรถยนต์ หรือต่อทะเบียนออนไลน์ มีดังนี้

1.ทำการตรวจสภาพรถ ที่ ตรอ. ก่อนให้เรียบร้อย

ตรวจสภาพรถยนต์ ตรวจอะไรบ้าง

ในการตรวจสภาพรถยนต์นั้น ทาง ตรอ. จะตรวจให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งตัวรถต้องมีสภาพที่มั่นคง แข็งแรง มีลักษณะ ขนาด และเครื่องอุปกรณ์ส่วนควบของรถถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ส่วนค่าตรวจสภาพนั้นจะอยู่ที่ 200 บาท สำหรับรถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน 2,000 กิโลกรัม ส่วนรถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าเกิน 2,000 กิโลกรัม จะเสียค่าตรวจสภาพคันละ 300 บาท โดยรายละเอียดในการตรวจจะมีดังนี้

– ตรวจสอบความถูกต้องข้อมูลของรถ ไม่ว่าจะเป็นแผ่นป้ายทะเบียนรถ ลักษณะรถ หมายเลขตัวถัง เลขเครื่องยนต์
– ตรวจสภาพของตัวรถ ไม่ว่าจะเป็นตัวถัง สี อุปกรณ์เกี่ยวกับความปลอดภัย พวงมาลัย ที่ปัดน้ำฝน ว่าพร้อมใช้งานมากน้อยขนาดไหน
– ตรวจสอบระบบบังคับเลี้ยว ระบบเบรก ว่ายังใช้งานได้ปกติหรือไม่
– ทดสอบประสิทธิภาพการเบรก โดยตรวจสอบอุปกรณ์ทุกชิ้นให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
– ตรวจสอบวัดโคมไฟหน้า ทิศทางการเบี่ยงเบนของแสง และวัดค่าความเข้มของแสง
– ตรวจสอบวัดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) และก๊าซไฮโดรคาร์บอน (HC) ของรถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง
– รถยนต์เครื่องดีเซล ต้องตรวจควันดำ โดยระบบการกรองต้องไม่เกินร้อยละ 50 และระบบความทึบแสงต้องไม่เกินร้อยละ 45
– การตรวจวัดเสียงรถ ต้องไม่เกิน 100 เดซิเบล
– สำหรับรถใช้แก๊สนั้นจะต้องมีการตรวจเพิ่มเติมคือ การตรวจทดสอบ เช็กตามข้อต่อ ตลอดจนท่อและอุปกรณ์แก๊สทั้งระบบ ว่ามีความสมบูรณ์พร้อมใช้งานหรือไม่ โดยถังแก๊สต้องมีอายุไม่เกิน 10 ปี
– สำหรับรถที่ติดถังแก๊สที่มีอายุเกิน 10 ปี จะมีการตรวจสอบว่ายังใช้งานได้ต่ออีกหรือไม่ โดยจะพิจารณาจากอุปกรณ์ที่ติดตั้งว่ามีความสมบูรณ์พร้อมใช้งานมากน้อยขนาดไหน ซึ่งถ้าตรวจสอบแล้วก็จะออกใบรับรองเพื่อยืดอายุการใช้งานต่อได้อีก 5 ปี ตามกฎหมาย

ซึ่งหลังจากการตรวจสภาพผ่านแล้วทาง ตรอ. จะออกใบรายงานผลการตรวจสภาพรถตามกฎหมาย ส่วนข้อมูลของตัวรถที่ได้รับการตรวจสภาพผ่านแล้วนั้นจะถูกส่งเข้าไปยังขนส่งแบบอัตโนมัติ

2.เข้าใช้เว็บไซท์ กรมการขนส่งฯ คือเว็บ https://eservice.dlt.go.th/
3.ทำการกดปุ่มลงทะเบียนสมาชิกใหม่/และกรอกข้อมูลบัตรประชาชน ทำการเลือกตั้งรหัสผ่าน เบอร์โทร อี-เมล
4.เมื่อเข้าสู่ระบบด้วยเลขบัตรประชาชน/รหัสผ่าน
5.ทำการกด ชำระภาษีรถประจำปีผ่านอินเตอร์เนท
6.เพิ่มรายละเอียดเกี่ยวกับรถ/กดลงทะเบียน
7.ทำการกด ยื่นภาษี
8.เลือกว่าติดแกสไหม มี พรบ. รถแล้วหรือยัง/กรอกที่อยู่ส่งเอกสาร
9.ชำระเงิน
10.รอรับใบเสร็จ และป้ายวงกลม (เครื่องหมายแสดงการเสียภาษี) ที่บ้าน
11.สามารถติดตามป้ายวงกลม ได้ที่ เว็บไซด์ของกรมขนส่งฯ

สรุปขั้นตอนการต่อภาษีรถออนไลน์ ไว้ข้างต้น ลองทำตามได้เลย หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามได้ที่ กรมขนส่งทางบกได้ทุกวัน

วิธีการทำอย่างละเอียดคลิก

ซื้อขายพรบ.รถยนต์ (คลิกเลยที่นี่)

ที่ติด พรบ.รถยนต์ (คลิกเลยที่นี่)


Booking.com

เรื่องที่คุณอาจสนใจ