ตกงานเกินครึ่งแสน!! สภาพัฒน์รายงานภาวะสังคมไทยไตรมาสแรกปีนี้มีผู้ว่างงาน 7.6 แสนคน

สภาพัฒน์ รายงานภาวะสังคมไทยไตรมาสแรกปีนี้ มีผู้ว่างงาน 7.6 แสนคน จากผลกระทบโควิด-19 ห่วงนักศึกษาจบใหม่ปีนี้ ที่เสี่ยงตกงาน เพิ่มอีกเกือบ 5 แสนคน

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รายงานภาวะสังคมไทยไตรมาสแรก ปี 2564 ในด้านของสถานการณ์แรงงาน พบว่า ผู้มีงานทำ มีทั้งสิ้น 37.6 ล้านคน เพิ่มขึ้น 0.4 % จากการขยายตัวของการจ้างงานในภาคเกษตรกรรม ที่ดูดซับแรงงานบางส่วน ที่ถูกเลิกจ้างจากภาคเศรษฐกิจอื่นมาตั้งแต่ปี 2563 ประกอบกับราคาสินค้าเกษตร ปรับตัวสูงขึ้นมาก จูงใจให้แรงงานย้ายเข้ามาทำงานในภาคเกษตรเพิ่มขึ้น

โดยผู้มีงานทำภาคเกษตรกรรม มีจำนวนทั้งสิ้น 11.07 ล้านคน เพิ่มขึ้น 2.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่นอกภาคเกษตรกรรม การจ้างงานปรับตัวลดลงเล็กน้อยที่ 0.6% โดยสาขาการผลิตอุตสาหกรรมมีการจ้างงานลดลง 2.2 %

อย่างไรก็ตาม มีบางอุตสาหกรรมที่ยังสามารถขยายตัวได้ เช่น ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก อุปกรณ์ที่ใช้ ในทางการแพทย์ และการผลิตเครื่องอุปกรณ์การขนส่งอื่น ๆ สำหรับภาคบริการ การจ้างงานลดลง 0.7 % โดยสาขาการขายส่ง/ขายปลีกลดลง 1.0 % และสาขาการขนส่ง/เก็บสินค้า ลดลง 0.4% และสาขาที่พักแรม และบริการด้านอาหารลดลง 0.2% ตามปริมาณนักท่องเที่ยวที่ลดลงจากผลกระทบการแพร่ระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่ และมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่ส่งผลกระทบต่อการจ้างงานในสาขาการขนส่ง และสถานที่เก็บสินค้า

ชั่วโมงการทำงานรวมอยู่ที่ 40.1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ลดลง 1.8 % จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 6 ,การทำงานต่ำระดับเพิ่มขึ้นถึง 129.1 % เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ทั้งนี้ จากภาพรวมที่ผู้มีงานทำเพิ่มขึ้น แต่ชั่วโมงการทำงานลดลง สะท้อนการจ้างงานและการทำงานที่ไม่เต็มเวลา ซึ่งจะทำให้แรงงานมีรายได้ลดลง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระซึ่งเป็นกลุ่มที่มีรายได้ไม่แน่นอน

การว่างงานเพิ่มขึ้นสูง โดยผู้ว่างงานมีจำนวน 0.76 ล้านคน คิดเป็นอัตราการว่างงาน 1.96 % สูงขึ้นอีกครั้ง หลังจากชะลอตัวลงในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบจากโควิด-19 ที่ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง

สำหรับการว่างงานของแรงงานในระบบ พบว่า ผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานของผู้ประกันตนมาตรา 33 มี 3.46 แสนคน คิดเป็นสัดส่วน 3.1 % ของผู้ประกันตนมาตรา 33 สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่การระบาดยังไม่รุนแรง แต่ปรับตัวลดลงจากครึ่งปีหลัง โดยเป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานรายใหม่ ประมาณ 0.8 แสนคน ในเดือนมีนาคม 2564 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับสูง และลูกจ้างของสถานประกอบการที่ขอใช้ มาตรา 75 ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มีจ านวนทั้งสิ้น 82,346 คน ลดลงเป็นไตรมาสที่ 3 ติดต่อกัน
ประเด็นที่ต้องติดตามในปี 2564 ได้แก่ 1.ผลกระทบของโควิด-19 ระลอกใหม่ต่อเศรษฐกิจและการจ้างงาน การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยืดเยื้อและมีความรุนแรงเป็นระยะ ๆ อาจทำให้เศรษฐกิจไม่สามารถขยายตัวได้ตามเป้าหมาย เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ลดลง โดยแนวโน้มการเดินทางที่ลดลงจากข้อมูล Apple Mobility Index พบว่า จากการระบาดระลอกใหม่นี้ใกล้เคียงกับการระบาดในระลอกที่ 1 เมื่อปี 2563 ทั้งนี้ การระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่อาจส่งผลกระทบต่อกลุ่มแรงงาน ดังนี้

(1)แรงงานในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (MSMEs) อาจตกงานมากขึ้นหรือถูกลดชั่วโมงการทำงาน โดยธุรกิจ MSMEs ได้รับผลกระทบตั้งแต่ปี 2563 ซึ่งท าให้ 3 GDP ของ MSMEs ปรับตัวลดลงสูงถึง 9.1 % หากไม่สามารถควบคุมการระบาดได้อย่างรวดเร็ว ธุรกิจฯ อาจไม่ สามารถประคองตัวต่อไปได้ รวมถึงการเลิกจ้างแรงงาน และโอกาสการกลับมาฟื้นตัวอาจใช้เวลานานมากขึ้น

(2)แรงงานในภาคการท่องเที่ยวอาจถูกเลิกจ้างมากขึ้น และต้องหาอาชีพใหม่ โดยศูนย์วิจัยด้านการตลาด ท่องเที่ยวของ ททท. คาดว่าการท่องเที่ยวจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติในปี2569ซึ่งผลกระทบของ โควิด-19 จะทำให้การกลับเข้าสู่ภาวะปกติต้องเลื่อนออกไป และส่งผลกระทบต่อแรงงานในภาคการท่องเที่ยวที่มีอยู่กว่า 7 ล้านคน โดยหากแรงงานถูกเลิกจ้างจะไม่สามารถกลับเข้ามาทำงานในสาขาเดิมได้ในระยะเวลาอันใกล้ และอาจต้อง เปลี่ยนอาชีพ

และ (3)ตำแหน่งงานอาจไม่เพียงพอจะรองรับนักศึกษาจบใหม่ โดยเศรษฐกิจที่มีแนวโน้ม เติบโตต่ำกว่าเป้าหมาย จะทำให้ผู้ประกอบการเลื่อนการขยายตำแหน่งงานใหม่ออกไป กระทบกับการหางาน ของนักศึกษาจบใหม่ในปี 2564 ประมาณ 4.9 แสนคน ขณะที่โครงการจ้างงานกลุ่มผู้จบการศึกษาใหม่และ แรงงานคืนถิ่นภายใต้ พ.ร.ก. เงินกู้ฯ ในปี 2563 ซึ่งมีระยะเวลาการจ้างงานประมาณ 12 เดือนกำลังจะสิ้นสุดลง อาจส่งผลกระทบต่อแรงงานภายใต้โครงการประมาณ 1.4 แสนตำแหน่ง

2. ผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของแรงงาน เศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้า ชั่วโมงการทำงานที่ลดลง 6 ไตรมาสติดต่อกัน และการว่างงานเพิ่มขึ้น สะท้อนว่าแรงงานมีรายได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ผู้ว่างงานจากผลกระทบของโควิด-19 มีแนวโน้มเป็นผู้ว่างงานระยะยาวมากขึ้น การว่างงานเป็นเวลานานจะส่งผลกระทบต่อรายได้และทำให้ทักษะแรงงานลดลง นอกจากนี้ แรงงานในระบบที่ถูกเลิกจ้างจำนวนมากได้กลายเป็นแรงงานนอกระบบตั้งแต่การระบาดรุนแรงในปี 2563 ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่ได้รับการคุ้มครอง และขาดหลักประกันทางสังคม

3. การเตรียมพร้อมรับมือกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศที่จะมีผลต่อการประกอบอาชีพ ของเกษตรกรไทย ภาคเกษตรที่มีแรงงานอยู่มากกว่า 1 ใน 3 ของกำลังแรงงานในประเทศ โดยเฉพาะในช่วงที่มีการแพร่ระบาดฯ ภาคเกษตรเป็นสาขาที่ดูดซับแรงงานส่วนเกินจากนอกภาคเกษตร โดยมีการคาดการณ์สภาพภูมิอากาศในปี 2564 ว่าปริมาณน้ำฝนจะมากกว่าค่าปกติส่งผลดีต่อภาคเกษตรของไทย แต่บางพื้นที่อาจมีโอกาสสูงในการเกิดสถานการณ์น้ำท่วมได้ หากภาครัฐได้มีการส่งสัญญาณเตือนเกษตรกรล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำจะสามารถลดความเสี่ยงของเกษตรกรจากความเสียหายจากภัยทางธรรมชาติได้อย่างทันท่วงที

ส่วนหนี้สินครัวเรือน ล่าสุดซึ่งเป็นยอดของไตรมาส4 ปี 2563 มีมูลค่า 14.02 ล้านล้านบาท ขยายตัว 3.9% จากไตรมาสก่อน หรือคิดเป็นสัดส่วน 89.3% ต่อจีดีพี ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ซึ่งสภาภัฒน์ มองแนวโน้มการก่อหนี้ของครัวเรือนไทยทั้งปี 2564 จะยังอยู่ในระดับสูง เพราะภาวะเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว กลับไปอยู่ในระดับก่อนเกิดโควิด อีกทั้งตลาดแรงงาน อาจได้รับผลกระทบรุนแรงขึ้น หากโควิดยังไม่จบ ซึ่งกระทบต่อเนื่องมาถึงรายได้ของแรงงาน ทำให้ครัวเรือนประสบปัญหาขาดสภาพคล่องมากขึ้น โดยเฉพาะครัวเรือนรายได้น้อย

สภาพัฒน์ รายงานด้วยว่า ประเทศไทย ต้องสร้างความมั่นคงด้านวัคซีนให้กับประเทศ โดยจำเป็นต้องพัฒนาทั้งด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญสูง และการผลิตในระดับอุตสาหกรรม โดยต้องมีความชัดเจนเชิงนโยบาย การบริหารจัดการที่ดี เพื่อให้เกิดการระดมทรัพยากรและความร่วมมือของทุกภาคส่วน ตลอดจนเครือข่าย ระหว่างประเทศ เพื่อให้เกิดการพัฒนาและสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน

cr : mgronline


Booking.com

เรื่องที่คุณอาจสนใจ