เยี่ยวยาคนงาน!! ประยุทธ์ จ่ายเงินพิเศษเยียวยา “คนงาน-ร้านอาหาร” หัวละ 2,000 บาท
ที่ประชุม ทีมเศรฐกิจนายกฯ มีมติจ่ายเงินพิเศษเยียวยา “คนงาน-ร้านอาหาร” ที่อยู่ใน-นอกระบบประกัน หัวละ 2,000 บาท โดยใช้เงินกู้โควิด 4,000 ล้านบาท-เงินประกันสังคม 3,500 ล้านบาท
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เรียกประชุมคณะงานแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการออกข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 25) โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม อาทิ นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน,นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง, นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน, พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย, พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 (ศปก.ศบค.), นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
รวมถึง พล.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และนายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ที่ประชุมได้มีการหารือการแก้ปัญหาการประกาศกึ่งล็อกดาวน์ 1 เดือน ปิดแคมป์คนงาน และการประกาศมาตรการเข้มข้นใน 10 จงหวัด
นายดนุชาแถลงภายหลังการประชุม ว่า ที่ประชุมมติเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือนายจ้างและลูกจ้างร้านอาหารและไซต์งานก่อสร้างที่ได้รับผลกระทบจากการออกข้อกำหนออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 25) ในพื้นกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้แก่ ปทุมธานี นครปฐม สมุทรปราการ นนทบุรี สมุทรสาคร ระยะเวลา 1 เดือน แบ่งออกเป็น ธุรกิจไซต์งานก่อสร้าง และธุรกิจร้านอาหาร และทั้งในระบบประกันสังคมและนอกระบบประกันสังคม ดังนี้
1.ในระบบประกันสังคม กรณีลูกจ้าว จ่ายชดเชยกรณีเหตุสุดวิสัยร้อยละ 50 ของฐานเงินเดือน สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท นอกจากนี้ยังได้ “เงินเพิ่มเติม” จำนวน 2,000 บาทต่อราย กรณีนายจ้างหรือผู้ประกอบการ จะได้รับเงินช่วยเหลือ 3,000 บาทต่อหัวลูกจ้างในบริษัท สูงสุดไม่เกิน 200 คน
2.นอกระบบประกันสังคม ข้อมูลเบื้องต้นเป็นฐานข้อมูลที่อยู่ในระบบ “ถุงเงิน” ให้ดำเนินการลงทะเบียนเข้าระบบประกันสังคม กรณีลูกจ้างจะได้รับเงิน 2,000 บาทต่อหัว แต่ไม่ได้เงินชดเชยร้อยละ 50 เนื่องจากจ่ายเงินสบทบเข้ากองทุนประกันสังคมไม่ถึง 6 เดือน ส่วนกรณีนายจ้างจะได้รับเงินช่วยเหลือ 3,000 บาทต่อหัวลูกจ้างเช่นเดียวกัน
สำหรับผู้ประกอบที่ไม่สามารถขึ้นทะเบียนประกันสังคมได้ เนื่องจากไม่มีลูกจ้าง สามารถขึ้นทะเบียนผ่าน “ถุงเงิน” (หมวดร้านอาหารและเครื่องดื่ม) ได้ภายใน 1 เดือน โดยกระทรวงมหาดไทยจะลงไปตรวจสอบ
ทั้งนี้ กรอบวงเงินที่รัฐบาลเตรียมไว้ทั้งหมด 7,500 ล้านบาท แบ่งออกเป็น เงินกู้ 1 ล้านล้าน 4,000 ล้านบาท และกองทุนประกันสังคม 3,500 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ต้องให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ในวันพรุ่งนี้ (29 มิ.ย.) เห็นชอบในหลักการการเยียวยาครั้งนี้ก่อน
cr : prachachat