รู้หรือไม่ !! วิธีขอไฟฟ้า สำหรับใช้ในไร่นา ทำอย่างไรบ้าง
ท่านที่มีสวนหรือทำอาชีพเกษตรกร สามารถขอใช้ไฟฟ้าได้ โดยเจ้าไฟฟ้าตัวนี้มีชื่อเรียกว่า ไฟเกษตร โดยมันจะทำหน้าที่สำหรับใช้ภายในสวนของเกษตรกรเพื่อทำการเกษตร
ขอใช้ไฟเกษตรเกษตร สำหรับการใช้ไฟฟ้าฟ้กับเครื่องสูบน้ำ สามารถแบ่งการดำเนินการออกเป็น 2 แบบ คือ
1. เป็นบ้านอยู่อาศัยทั่วไปแต่มีพื้นที่ทำการเกษตร
2. เป็นกลุ่มเกษตรกรที่จดทะเบียนจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร เพื่อการเกษตรของหน่วยราชการ สหกรณ์เพื่อการเกษตร กลุ่มเกษตรกรที่จดทะเบียนจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรที่หน่วยงานราชการรับรอง โดยต่อผ่านเครื่องวัดไฟฟ้าเครื่องเดียว
8 หลักเกณฑ์การขอใช้ไฟเกษตร สำหรับใช้ในไร่นา
1.ต้องไม่อยู่ในเขตพื้นที่หวงห้ามใดๆ ของราชการ
2.ต้องมีทางสาธารณะที่รถยนต์สามารถวิ่งผ่านได้อย่างสะดวก และสามารถดำเนินการก่อสร้างระบบจำหน่ายไฟฟ้าโดยวิธีปักเสาพาดสายได้
3. เกษตรกรผู้ยื่นคำร้องจะต้องขึ้นทะเบียนเป็นเกษตรกร (สมุดทะเบียนเกษตรกร)
4.ต้องระบุแหล่งน้ำที่จะใช้เพื่อกิจกรรมทางการเกษตร เช่น คลองสาธารณะ คลองชลประทาน แหล่งน้ำใต้ดินในลักษณะต่างๆ
5.ต้องมีเอกสาร/หลักฐานสิทธิ์ ตามประมวลกฎหมายที่ดินหรือหนังสือสัญญาเช่าที่ดินทำกินที่ถูกต้องตามกฎหมาย และต้องไม่ใช่ที่ดินที่ถือครองโดยเอกชนรายใหญ่
6.เป็นเกษตรกรรายย่อยที่ขอติดตั้ง มิเตอร์ขนาดไม่เกิน 15(45) แอมป์ ต่อราย
7.ต้องสามารถออกใบแจ้งหนี้ค่ากระแสไฟฟ้ามิเตอร์เครื่องที่ 2 (ใหม่) โดยจะแจ้งเก็บเงืนไปที่มิเตอร์เครื่องที่ 1 (เก่า) ทั้งสองมิเตอร์ต้องอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของการไฟฟ้าเดียวกัน
8. ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการขยายเขต ฯ ไม่เกิน 50,000 บาท ต่อราย (PEA รับผิดชอบ) ในกรณีที่เกิน 50,000 บาท ผู้ขอใช้ไฟฟ้าสามารถสมทบเงินในส่วนที่เกินได้
พิกัดโซล่าเซลล์ ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้า สนใจสั่งซื้อคลิกเลย
พิกัดโซล่าเซลล์ ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้า 2 สนใจสั่งซื้อคลิกเลย
เอกสารที่ต้องเตรียม
– สำเนาทะเบียนบ้าน
– สำเนาโฉนดที่ดิน
– สำเนาบัตรประชาชน
– ใบรับรองจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานราชการ
ขั้นตอนขอไฟเกษตรมีดังนี้
1.ขอบ้านเลขที่เพื่อให้ได้สำเนาทะเบียนบ้าน
2.ยื่นเรื่องกับท้องถิ่นเพื่อขอใบรับรอง โดยนำเรื่องไปยื่นกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ โดยแนบสำเนาทะเบียนบ้านของตัวเราเองและเพื่อนบ้านในโซนเดียวกันอย่างน้อย 3 หลังคาเรือนไปพร้อมกัน
3 ยื่นเรื่องที่การไฟฟ้าในพื้นที่นำเอกสารไปยื่นที่การไฟฟ้าอำเภอในพื้นที่ แล้วกรอกเอกสารให้เรียบร้อย ซึ่งเป็นการยื่นเรื่องไว้รองบประมาณในรอบต่อไป
ค่าธรรมเนียมในการยื่นขอมิเตอร์ไฟฟ้า
5(15) แอมป์ ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท 15(45) แอมป์ 1 เฟส ค่าธรรมเนียม 6,450 บาท และ 15(45) แอมป์ 3 เฟส ค่าธรรมเนียม 21,350 บาท
ไฟเกษตรจะน้อยกว่าอัตราค่าไฟบ้าน (ประเภทที่1) พอสมควร โดยมีอัตราดังนี้
อัตราปกติ (บาท / หน่วย)
– 100 หน่วยแรก (หน่วยที่ 0 – 100) 2.0889
– เกิน 100 หน่วยขึ้นไป (หน่วยที่ 101 เป็นต้นไป) 3.2405 ค่าบริการ 115.16
ส่วนค่าไฟบ้านคิดอัตราดังนี้
อัตราปกติ (บาท / หน่วย)
ใช้ไฟไม่เกิน 150 หน่วย / เดือน
– 15 หน่วยแรก (หน่วยที่ 0 – 15) 2.3488
– 10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 16 – 25) 2.9882
– 10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 26 – 35) 3.2405
– 65 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 36 – 100) 3.6237
– 50 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 101 – 150) 3.7171
– 250 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 151 – 400) 4.2218
– เกิน 400 หน่วยขึ้นไป (หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป) 4.4217 ค่าบริการ 8.19
ใช้ไฟเกิน 150 หน่วย / เดือน
– 150 หน่วยแรก (หน่วยที่ 0 – 150) 3.2484
– 250 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 151 – 400) 4.2218
– เกิน 400 หน่วยขึ้นไป (หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป) 4.4217 ค่าบริการ 38.22
ข้อควรรู้ การขอไฟเกษตรต้องดูแนวโน้มในพื้นที่ด้วยว่าจะมีไฟฟ้าเข้ามาด้วยหรือไม่ และต้องมีบ้านอยู่ในโซนเดียวกันตั้งแต่ 3 หลังขึ้นไป แต่หากพื้นที่มีบ้านหลังเดียวก็สามารถขอไฟฟ้าพิเศษได้ แต่ค่าไฟจะสูงกว่าปกติ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 1129
ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค