หมดหนี้เร็วขึ้นแน่นอน!! วางแผนจ่ายหนี้ กยศ. อย่างไรให้ท่านไม่ลำบากมากที่สุด

แน่นอนว่าหลายคนที่กำลังจะเรียนนั้นบางคนไม่มีกำลังทรัพย์พอที่จะจ่ายค่าเล่าเรียนจึงต้องกู้ยืมเงิน กยศ. มาเรียนและเมื่อเรียนจบแล้วนั้นเราต้องคืนเงินกู้ยืม เพื่อให้รุ่นน้องต่อไปในภายภาคหน้าได้มีเงินส่วนนี้ให้กู้ยืมต่อไป  สำหรับปัญหามนุษย์เงินเดือนที่เจอนั่นก็คือ

จาก หลักเกณฑ์การชำระหนี้ การชำระหนี้คืนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาเป็นไปตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2541 และระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ว่าด้วยการชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้

ผู้กู้ยืมเงินที่มีหน้าที่ชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุน
– ผู้กู้ยืมเงินที่สำเร็จการศึกษาหรือเลิกการศึกษาแล้วเป็นเวลา 2 ปี นับจากปีที่สำเร็จการศึกษาหรือเลิกศึกษา (ครบระยะเวลาปลอดหนี้)
– กรณีผู้กู้ยืมเงินที่ไม่กู้ต่อเนื่องติดต่อกัน 2 ปี และไม่แจ้งสถานภาพให้ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมทราบ จะถือว่าเป็นผู้ครบกำหนดชำระหนี้และมีหน้าที่ต้องชำระหนี้คืนกองทุน

แนวทางที่ผมจะพูดต่อไปนี้คืออย่าคิดเราจะให้หนี้เป็นปี  ให้คิดว่าเราใช้เป็นเดือนดีไหม มาลองคิดกันดีกว่า ตัวอย่างผมส่งเงินเพื่อจ่ายหนี้ กยศ. เดือนละ 1,000 บาท เท่ากับว่า 1 ปี ผมนั้นได้จ่ายไปแล้ว 12,000 บาท  แต่ที่จริงนั้นปีแรกผมควรจ่ายเพียง 3,045.45 บาท เท่านั้นเอง เงินส่วนที่เหลือจึงทำให้ผมสามารถแบ่งเบาภาระในปีถัดไป หรือเดือนไหนผมไม่สามารถจ่ายได้นั่นเอง  ถ้าผมจ่ายเดือนละ 1,000 บาท ทุกเดือน ผมสามารถจ่ายอย่างนี้ไปจนถึงปีที่ 11 โดยไม่ต้องจ่ายทีละเยอะๆ  พอถึงปีที่ 12 เงินส่วนที่ผมส่งเกินไปนั้นหมดจึงต้องส่งเพิ่มอีก แต่เมื่อเทียบกับ 1 เดือนนั้นก็ไม่ได้ถือว่าเยอะอะไรใช่ไหมละครับ  หลายท่านอ่านแล้วงง มาดูตารางกันเลย !!!

จากตารางข้างต้นนั้นเราคงรู้แล้วสิครับว่าไม่ควรรอจ่ายหนี้ กยศ. เป็นรายปี ควรเอาตารางที่ทาง กยศ.นั้นแจกมาเพื่อให้เรานั้นไปชำระเป็นรายปี แล้วมาตั้งเป้าไว้เลยว่าจะชำระเดือนละเท่าไหร่กันดี  หากใครยังไม่รู้ยอดหนี้ของตัวเอง สามารถเข้าเช็คได้ที่ https://www2.studentloan.or.th/SLFSTUDENT/html/index2.html

ขอบคุณข้อมูลจาก : jobthaidd


Booking.com

เรื่องที่คุณอาจสนใจ