เตรียมปรับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ ปรับค่าชดเชยผู้ได้รับผลกระทบของ พนง.ราชการ

เตรียมปรับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ และการปรับค่าตอบแทนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบของพนักงานราชการขึ้น ตามมติคณะรัฐมนตรี

ข้อเสนอการปรับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุและการปรับค่าตอบแทนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบ รวมทั้งการปรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของพนักงานราชการ ทั้งนี้ คาดว่า จะใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้น 2,670 ล้านบาท โดยปีที่ 1 (5 เดือน) จํานวน 830 ล้านบาท และปีที่ 2 (12 เดือน) จํานวน 1,840 ล้านบาท (ปีที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2567 และปีที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2568) โดยให้ส่วนราชการใช้จ่ายจากงบประมาณของแต่ละส่วนราชการเป็นลําดับแรก หากไม่เพียงพอให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจําปี งบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น ตามที่ คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ (คพร.) เสนอ

สาระสำคัญ

เดิมคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (28 พฤศจิกายน 2566) เกี่ยวกับการปรับอัตราเงิน คุมข้าราชการพลเรือนและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามที่สํานักงาน ก.พ. เสนอ ดังนี้

1. เห็นชอบในหลักการการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุและการปรับ เงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบ รวมทั้งการปรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว โดยมีวัตถุประสงค์และหลักการเพื่อปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุตามคุณวุฒิการศึกษาให้เหมาะสม สอดคล้องตามนโยบายรัฐบาล และสามารถดึงดูดบุคลากรที่มีคุณภาพเข้าสู่ระบบราชการ โดยผู้ที่ปฏิบัติงานในตําแหน่งที่ใช้คุณวุฒิระดับปริญญาตรีจะมีเงินเดือนไม่น้อยกว่า 18,000 บาท และผู้ที่ปฏิบัติงานในตําแหน่งที่ใช้คุณวุฒิระดับ ปวช. จะมีเงินเดือนไม่น้อยกว่า 11,000 บาท ภายใน 2 ปี ทั้งนี้ อัตราเงินเดือนของผู้ที่รับราชการอยู่ก่อนจะต้องไม่น้อยกว่าผู้ที่บรรจุเข้ารับราชการใหม่ โดยใช้คุณวุฒิระดับเดียวกัน และอัตราเงินเดือนหลังการปรับจะต้องไม่ทําให้ผู้ซึ่งเคยได้รับเงินเดือนสูงกว่ากลายเป็น ผู้ได้รับเงินเดือนต่ำกว่าผู้ดํารงตําแหน่งประเภทและระดับเดียวกันที่บรรจุในวุฒิเดียวกัน และเพื่อปรับเงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบซึ่งรับราชการอยู่ก่อนวันที่อัตราเงินเดือนแรกบรรจุใหม่มีผลใช้บังคับ โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

1.1 การปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุและการปรับเงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบ

(1) ปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุ โดยทยอยปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุตามคุณวุฒิเพิ่มขึ้น (ทุกคุณวุฒิ) ในอัตราร้อยละ 10 ภายใน 2 ปี โดยปีที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 และปีที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2568 (เช่น คุณวุฒิระดับปริญญาตรี จากเดิม 15,000 บาท เป็น 16,500 บาท ในปีที่ 1 และปรับเป็น 18,150 บาท ในปีที่ 2)
(2) การปรับเงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบ จํานวน 2 ครั้ง ให้มีผลใช้บังคับพร้อมกับการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุในปีที่ 1 และปีที่ 2 โดยปรับเงินเดือนชดเชยในแต่ละปี ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายผู้เข้ารับราชการก่อนวันที่ อัตราแรกบรรจุที่กําหนดใหม่มีผลใช้บังคับอย่างน้อย 10 ปี

1.2 การปรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว เป็นการปรับเพดาน เงินเดือนขั้นสูงที่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว จากเดิม เงินเดือนไม่ถึงเดือนละ 13,285 บาท เป็น เงินเดือนไม่ถึงเดือนละ 14,600 บาท และปรับเพดานขั้นต่ำของเงินเดือน รวมกับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว จากเดิม เดือนละ 10,000 บาท เป็น เดือนละ 11,000 บาท และปรับเงินเพิ่มการครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบํานาญขั้นต่ำ จากเดิม 10,000 บาท เป็น 11,000 บาท ซึ่งการปรับเพดานเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวนี้ จะครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยข้าราชการ ลูกจ้างประจํา ทหารกองประจําการ และผู้รับบํานาญ และคาดว่าจะใช้งบประมาณ เพิ่มขึ้นไม่เกิน 3,000 ล้านบาทต่อปี โดยให้ส่วนราชการใช้จ่ายจากงบประมาณของแต่ละส่วนราชการ เป็นลําดับแรก หากไม่เพียงพอให้ขอทําความตกลงกับสํานักงบประมาณ (สงป.) เพื่อขอใช้จ่าย จากงบประมาณรายจ่ายประจําปี งบกลาง รายการเงินเลื่อนเงินเดือนและเงินปรับวุฒิข้าราชการ หรือรายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นแล้วแต่กรณี ตามลำดับ

2. มอบหมายให้สํานักงาน ก.พ. ร่วมกับคณะกรรมการบริหารงานบุคคลของข้าราชการประเภทต่าง ๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดําเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนที่กําหนดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการแต่ละประเภท รวมทั้งกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การดําเนินการมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมายและสอดคล้องตามหลักการดังกล่าวต่อไป

3. มอบหมายให้สํานักงาน ก.พ. ประสานกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง (กค.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้รับหลักการและแนวทางดําเนินการในเรื่องดังกล่าวไปประกอบการพิจารณาดําเนินการในส่วนของข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่นและพนักงานรัฐวิสาหกิจต่อไป
คพร. ได้จัดทําข้อเสนอการปรับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุและการปรับค่าตอบแทนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบรวมทั้งการปรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของพนักงานราชการ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการ ของมติคณะรัฐมนตรี (28 พฤศจิกายน 2566) โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

1. วัตถุประสงค์

1.1 ปรับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุของพนักงานราชการตามคุณวุฒิการศึกษาให้เหมาะสม สอดคล้องตามนโยบายรัฐบาล และสามารถดึงดูดบุคลากรที่มีคุณภาพเข้าสู่ระบบราชการ

1.2 ปรับค่าตอบแทนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบซึ่งได้รับการว่าจ้างอยู่ก่อนวันที่อัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุใหม่ที่นําเสนอในครั้งนี้มีผลใช้บังคับ

2. หลักการ

2.1 ปรับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุทุกคุณวุฒิแตกต่างกันตามระดับคุณวุฒิการศึกษา

2.2 อัตราค่าตอบแทนของผู้ที่ได้รับการว่าจ้างอยู่ก่อน จะต้องไม่น้อยกว่าผู้ที่ได้รับการว่าจ้างเป็นพนักงานราชการใหม่โดยใช้คุณวุฒิระดับเดียวกัน

2.3 อัตราค่าตอบแทนหลังการปรับจะต้องไม่ทําให้ผู้ซึ่งเคยได้รับค่าตอบแทนสูงกว่ากลายเป็นผู้ได้รับค่าตอบแทนต่ำกว่าผู้ที่บรรจุในวุฒิเดียวกัน ทั้งนี้ โดยไม่เป็นภาระงบประมาณมากจนเกินควร

3. แนวทางดําเนินการ

3.1 การปรับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ โดยทยอยปรับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ ตามคุณวุฒิเพิ่มขึ้น (ทุกคุณวุฒิ) แตกต่างกันตามระดับคุณวุฒิ การศึกษา ภายใน 2 ปี คือ ปีที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1พฤษภาคม 2567 และปีที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2568 ซึ่งสอดคล้องตามมติคณะรัฐมนตรี (28 พฤศจิกายน 2566) และหลักการกําหนดค่าตอบแทนพนักงานราชการตามมติ คพร. ที่กําหนดค่าตอบแทนแรกบรรจุ ของพนักงานราชการโดยนําบัญชีอัตราแรกบรรจุของข้าราชการพลเรือนสามัญเป็นฐานในการคํานวณ โดย (1) พนักงานราชการกลุ่มงานบริการ กลุ่มงานเทคนิค และกลุ่มงานบริหารทั่วไป บวกเพิ่มขึ้นในอัตรา ร้อยละ 20 จากอัตราเงินเดือนแรกบรรจุของข้าราชการพลเรือนสามัญ เพื่อเป็นค่าชดเชยบําเหน็จ สวัสดิการ อื่น ๆ และสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม และ (2) พนักงานราชการกลุ่มวิชาชีพเฉพาะ บวกเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 30 เพื่อชดเชยลักษณะงานวิชาชีพ บําเหน็จ สวัสดิการอื่นๆ และสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม

3.2 การปรับค่าตอบแทนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบจํานวน 2 ครั้ง ให้มีผลใช้บังคับพร้อมกับการปรับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุในปีที่ 1 และปีที่ 2 โดยปรับค่าตอบอัตราการที่ได้รับผลกระทบก่อนวันที่อัตราแรกบรรจุที่กําาหนดใหม่มีผลใช้บังคับ โดยมีอัตราชดเชยเท่ากับ 0.84 ของผลต่างอัตราค่าตอบแทนได้รับในปัจจุบันกับอัตราแรกบรรจุเดิม ซึ่งมีหลักการ แนวคิด และสมมติฐาน ดังนี้
(1) กําหนดกลุ่มเป้าหมาย ชดเชยผู้ได้รับผลกระทบ ในแต่ละปีโดยครอบคลุมผู้ได้รับการจ้างเป็นพนักงานราชการอยู่ก่อนวันที่อัตราค่าตอบแทน แรกบรรจุที่กำหนดใหม่มีผลใช้บังคับ อย่างน้อย 10 ปี
(2) กําหนดอัตราค่าตอบแทนสูงสุดที่จะได้รับการชดเชย โดยแปลงจํานวนปีของผู้ได้รับการจ้างเป็นพนักงานราชการเป็นอัตราค่าตอบแทนสูงสุดที่จะได้รับการปรับค่าตอบแทนชดเชย โดยมีสมมติฐานว่าเป็นผู้ซึ่งมีผลงานดีเด่นตลอด 10 ปี และได้รับการเลื่อนค่าตอบแทนเฉลี่ยในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี (ปีละ 1 ครั้ง) ดังนั้น ผู้ที่จะได้รับการปรับค่าตอบแทนชดเชย คือ ผู้ที่ได้รับค่าตอบแทนระหว่างค่าตอบแทนแรกบรรจุ (ปัจจุบัน) กับอัตราค่าตอบแทนที่ผ่านการเลื่อนเงินเดือนตามรอบการประเมินผลการปฏิบัติงานมาแล้วประมาณ 10 ครั้ง จากนั้นน่าอัตราค่าตอบแทนสูงสุดที่จะได้รับการปรับค่าตอบแทนชดเชยแล้วมาคํานวณหาอัตรา การชดเชยที่เหมาะสม โดยทําการจําลองในทุกกลุ่มงานและจําแนกตามคุณวุฒิต่าง ๆ ซึ่งได้อัตราการชดเชยที่เหมาะสมและเป็นไปตามหลักการที่กําหนดไว้ เท่ากับ 0.84

3.3 การปรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว ปรับเพดานอัตราค่าตอบแทนขั้นสูงที่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว จากเดิมค่าตอบแทนไม่ถึง เดือนละ 13,285 บาท เป็นค่าตอบแทนไม่ถึงเดือนละ 14,600 บาท และปรับเพดานขั้นต่ำของค่าตอบแทนรวมกับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว จากเดิม เดือนละ 10,000 บาท เป็น 11,000 บาทให้แก่พนักงานราชการ ทั้งนี้ การให้ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพและวันที่มีผลใช้บังคับให้เป็นไป ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของข้าราชการ และลูกจ้างประจําของส่วนราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … ซึ่ง กค. โดยกรมบัญชีกลางอยู่ระหว่างดําเนินการ ปรับปรุงระเบียบดังกล่าว

3.4 การปรับปรุงประกาศ คพร. เรื่อง ค่าตอบแทนของพนักงานราชการ พ.ศ. …. เพื่อปรับปรุงบัญชีกําหนดอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ ของพนักงานราชการและการปรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว โดยยกเลิกประกาศ คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง ค่าตอบแทนของพนักงานราชการ พ.ศ. 2554และที่แก้ไขเพิ่มเติม อีก 3 ฉบับ ได้แก่ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2558 (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2561 และ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2565 และจัดทําประกาศฉบับใหม่โดยจะเป็นการรวมประกาศไว้เป็นฉบับเดียว เพื่อให้สะดวกในการนําไปใช้
ประโยชน์และผลกระทบจากการดำเนินการ

1. ประโยชน์ : อัตราค่าตอบแทนของพนักงานราชการ มีความเหมาะสม สอดคล้องกับตลาดแรงงานและค่าครองชีพในปัจจุบัน สามารถดึงดูดบุคลากรที่มีคุณภาพเข้าสู่ระบบราชการตลอดจนรักษา คนที่มีความรู้ ความสามารถ และมีศักยภาพระบบราชการต่อไปได้
2. ผลกระทบ : การดําเนินการดังกล่าวคาดว่าจะใช้ งบประมาณ รวมทั้งสิ้น 2,670 ล้านบาท โดยปีที่ 1 (5 เดือน) จํานวน 830 ล้านบาท (12 เดือน) จํานวน 1,840 ล้านบาท

cr : mgronline


Booking.com

เรื่องที่คุณอาจสนใจ